ค่า IP กันน้ำ กันฝุ่น คืออะไร?
หลายคนคงเคยได้ยินคำถามว่า ค่า IP เท่าไหร่ ใช้กันน้ำได้หรือเปล่านะ ? จะรู้ได้อย่างไรว่า กันน้ำได้หรือเปล่าแล้วมันกันได้มากแค่ไหนกัน ?
วันนี้เราจะมาเผยความลับกันว่า ค่า IP ที่เราเคยได้ยินกันนั้นมันคืออะไร และจะรู้ได้อย่างไร ว่า IP เท่าไหร่ถึงกันได้ไม่ได้ กันได้มากแค่ไหน !!
การเลือกซื้อโคมไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า หลายๆท่านคงสงสัยว่าค่า IP ที่มีเลขต่างๆกันไป มันบอกอะไรเรา ?
บางคนบอกว่า ...เคล็ดลับง่ายๆคือ เลขยิ่งเยอะ อัตราการกันน้ำก็ยิ่งกันได้มากขึ้น ... ถือว่าถูกต้อง แต่อาจจะบอกได้ไม่ละเอียดพอที่จะไขความสงสัย ให้กระจ่างได้ 100%
ก็ยังคงมีบางคนสงสัยอยู่ว่า อ้าว? แล้วของที่เรานั้นใช้งาน หรือกำลังที่จะซื้อมาใช้นั้น สามารถที่จะกันฝน หรือว่าสามารถใช้งานใต้น้ำได้หรือเปล่า
ชื่อเต็ม International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529 หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529
มาดูกันกับตารางแลัววิธีอ่านค่า IP ที่จะบอกเรื่องราวว่าของที่เราใช้อยู่ หรือที่เรากำลังจะซื้อ มันกันน้ำหรือกันฝุ่นได้มากแค่ไหนกัน
ที่มา : https://www.altomdata.dk/ip-standarden-forklaret
จากตางราง เราจะสังเกตุได้อย่างหนึ่งคือ ค่า IP นั้นจะตางด้วยเลข 2 หลักเสมอๆ ซึ่งเลขสองหลักนี้เองที่จะบอกว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นที่เราใช้หรือซื้อนั้น กันน้ำกันฝุ่นได้มากเพียงใด
ที่มา : www.omi.co.th/th/article/มาตรฐาน-ip
ระบบการป้องกันน้ำ และ ฝุ่น (Dust and water protection) IP ก็คือ International Protection ค่ามาตรฐานการป้องกัน ซึ่งจะเป็นค่าแสดงระดับการป้องกันของกล่อง แผงไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง โดยที่ค่า IP นั้นจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก คือ IPxx โดยที่ตัวเลขหลักแรกจะหมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 ส่วนตัวเลขหลักที่ 2 จะหมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8 ทีนี้ก็มาดูความหมายของตัวเลขหลักแรกกันก่อนนะคะ
ตัวเลขในตำแหน่งแรก หมายถึงการป้องกันของแข็ง โดยแบ่งเป็น 7 ระดับเริ่มตั้งแต่ 0 - 6
0 : ไม่สามารถป้องกันของแข็งอะไรได้เลย
1 : ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มิลลิเมตรเข้ามาภายในอุปกรณ์
2.: ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12.5 มิลลิเมตรเข้ามาภายในอุปกรณ์
3 : ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มิลลิเมตรเข้ามาภายในอุปกรณ์
4 : ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรเข้ามาภายในอุปกรณ์
5 : ป้องกันฝุ่งละอองได้เล็กน้อย
6 : ป้องกันฝุ่งละอองได้ ตัวเลขหลักที่สอง หมายถึงการป้องกันของเหลว โดยแบ่งเป็น 9 ระดับเริ่มตั้งแต่ 0 - 8 0 : ไม่สามารถป้องกันของเหลวอะไรได้เลย 1 : ป้องกันน้ำที่ตกจากแนวดิ่ง (ป้องกันเฉพาะน้ำที่ตกมาโดนจากแนวตั้ง 90 องศา) 2 : ป้องกันน้ำจากแนวตั้งทำมุมเอียง 15 องศา 3 : ป้องกันน้ำจากแนวตั้งทำมุมเอียง 60 องศา 4 : ป้องกันน้ำได้ทุกทิศทาง 5 : ป้องกันโทรศัพท์จากการถูกฉีดด้วยน้ำแรงดันต่ำทุกทิศทาง 6 : ป้องกันการถูกฉีดด้วยน้ำแรงดันต่ำ และสามารถเปียกน้ำได้เพียงชั่วครู่ 7 : ป้องกันการแช่น้ำที่ความลึก 15 -100 เซนติเมตร หรือป้องกันน้ำได้ 1 เมตร 8 : ป้องกันการแช่อยู่ในน้ำ และสามารถใช้งานในน้ำได้
www.facebook.com/iRobotics.in/photos/pcb.613465095411092/613464945411107/?type=3&theater
ตัวอย่างความหมาย 1. IP00 หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นไม่สามารถป้องกันฝุ่นและน้ำได้
2. IP22 หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นสามารถป้องกันฝุ่นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.5 มิลลเมิตร และป้องกันปริมาณน้ำที่หยดเอียง 15 องศา จะพบมากในอุปกรณ์ไฟฟ้าจำพวกดาวน์ไลท์LED ที่ใช้ภายในอาหารหน้าโต๊ะเครื่องแป้ง หรือตามตู้โชว์
3. IP44 หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นสามารถป้องกันฝุ่นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร และป้องกันปริมาณน้ำสาดกระเด็นหรือพรม จะพบมากในอุปกรณ์ไฟฟ้าจำพวกดาวน์ไลท์LED ที่ใช้ภายในอาคาร เพื่อเพิ่มความสว่างและใช้ตกแต่งตามห้องต่างๆ
4. IP65 หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นสามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็กที่มีปริมาณหนาแน่น และป้องกันหยดน้ำฝนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากหรือปริมาณฝนที่ตกปรอยๆ จะพบมากในอุปกรณ์ไฟฟ้าจำพวกสปอร์ตไลท์LED 100w สปอร์ตไลท์LED 150w สปอร์ตไลท์LED 200w เช่น สปอร์ตไลท์สนาม สปอร์ตไลท์ส่องป้าย ซึ่งใช้ภายนอกอาคารสามารถโดนแดดโดนฝน
5. IP67 หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นป้องกันน้ำโดยจุ่มลงน้ำในระดับ 1 เมตร ไม่เกิน 30 นาที จะพบมากในอุปกรณ์ไฟฟ้าจำพวกโคมไฟถนนLED เพราะสามารถป้องกันฝุ่นและน้ำฝนได้
6. IP6X หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้นระบบป้องกันฝุ่นแต่ไม่ป้องกันน้ำ
ทั้งนี้เพื่อนๆคงจะเข้าใจกันแล้วว่า การอ่านค่า IP Rating นั้นทำอย่างไรกัน ถ้าข้อมูลนี้มีประโยชน์อย่าลืมแชร์ให้คนอื่นได้ความรู้กันด้วยนะคะ
Comments